หน้าแรก HOME

บริษัท เอส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เทรดดิ้ง จำกัด

ทางบริษัทเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย และบริการงานติดตั้ง

อุปกรณ์ระบบรักษาความปลอดภัย โดยทีมช่างผู้ชำนาญการ

ทั้งระบบกล้องวงจรปิด,ระบบควบคุมการเข้า-ออกของประตู

ระบบสัญญาณกันขโมย,ระบบไฟฉุกเฉิน,ป้ายไฟฉุกเฉิน

และระบบอื่นๆที่เกื่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัย

ภายในอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

โรงงาน โครงการก่อสร้าง หน่วยงานราชการ  ฯลฯ

โดยทางเรามีสินค้า และบริการแบ่งออกดังนี้

 

 

 

 

บริการ จำหน่าย ขายปลีก ขายส่ง ราคาผู้รับเหมา สำหรับงานโครงการ.

- ระบบเครื่องสำรองไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

- ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign)

- ไฟฉุกเฉินแบบกันระเบิด (Explosion Proof Lighting) 

 

*** ทางเรามีราคาสุดพิเศษสำหรับลูกค้า เพียงท่านโทรมาหาเรา ***

สอบถามข้อมูล ไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน ผ่าน LINE https://line.me/ti/p/Knu1JFLNpU

 

ID LINE : @MYSET

                                            ผลงานที่ผ่านมาที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจกับทางเรา OUR REFERENCE

 

     หมวดสินค้าประเภท ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ที่ทางบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายบริษัทได้เลือกเฉพาะโรงงานที่ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานและผ่านการตรวจสอบว่า ตรงตามมาตรฐานที่ วสท. โดนมามาตรฐาน มอก. กำหนด เรื่องระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟฉุกเฉิน และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เท่านั้น โดยอุปกรณ์ ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน หรือโคมไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องให้แสงสว่างออกมาเต็มพิกัดตามที่ผู้ผลิตได้แจ้งใว้ ที่ตัวผลิตภัณฑ์ โดยในกรณีที่ระบบไฟฟ้าและแสงสว่างปกติล้มเหลวภายในระยะเวลา 60 วินาที ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน ต้องทำงานโดยให้แสงสว่างออกมาเต็มพิกัด และสามารถให้แสงสว่างต่อเนื่องได้นานไม่ต่ำกว่า 30 นาที เป็นอย่างน้อย และเมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าและแสงสว่างหลักกลับมาทำงานเป็นปกติอุปกรณ์ ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน ต้องสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

     หลักการติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ควรติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2.0 เมตรโดยวัดจากระดับพื้นถึงด้านล่างของโคม ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน กรณีตำแหน่งที่ติดตั้งมีความจำเป็นต้องติดตั้งต่ำกว่า 2.0 เมตร ก็สามารถอนุโลมได้ แต่ต้องไม่เป็นการไปกีดขวางเส้นทางออกฉุกเฉินหรือทางหนีภัย โดยการตำแหน่งและพื้นที่การติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน ต้องเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นในส่วนของบริเวณหน้าประตูทางออกฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน สมควรติดในช่วงระยะ 2.0 - 2.7 เมตร ในลักษณะที่ไม่กีดขวางทางออกฉุกเฉิน ทางแยก ทางเลี้ยว ทางเปลี่ยนระดับควรติดตั้งห่างไม่เกิน 2.0 เมตร อยู่ในแนวระดับ จากทางแยก ทางเลี้ยว ทางเปลี่ยนระดับของพื้นผิว ส่วนภายนอกของอาคารหลังจากออกจากอาคารแล้ว ก็ควรมีความสว่างในระดับเดียวกัน โดยการติดตั้ง ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน ต้องเป็นไปตามที่มาตรฐาน วสท. 2004 เป็นผู้กำหนดโดยจะเลือกใช้ ประเภทของไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟฉุกเฉิน เป็นชนิด HALOGEN หรือ LED แล้วตามความเหมาะสมของการใช้งาน

     ในปัจจุบัน เครื่องไฟฉุกเฉินได้มีการพัฒนาไปอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต เทคโนโลยีที่เห็นได้ชัดคือระบบการทดสอบตัวเองของเครื่อง (Auto Test System) ซึ่งจะช่วยให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ และการมีรีโมตในการใช้สั่งการทำงานของเครื่องในระยะไกล (15เมตร โดยประมาณ) ช่วยให้ประหยัดเวลาใน การตรวจสอบลงไปได้มาก ปัจจุบันเทคโนโลยีของหลอดไฟที่จากเดิมเคยใช้หลอดเผาไส้ จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นหลอดฮาโลเจน HALOGEN ได้เปลี่ยนมาเป็นหลอดไฟ LED หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงที่สุดในยุคนี้ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีของหลอด LED ยังอยู่ในวงจำกัดเพียงแค่หลอดไฟที่ใช้ในการตกแต่งท้ายรถยนต์, ป้ายโฆษณา หรือร้านอาหาร เท่านั้นเนื่องมาจากประสิทธิภาพของ LED ในตอนนั้นยังคงต่ำอยู่ แต่ในขณะ นี้เทคโนโลยี ของหลอดไฟ LED ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างแหล่งใหม่เพื่อทดแทนหลอดไฟแบบดั้งเดิม ในส่วนของเครื่องไฟฉุกเฉินก็ได้นำหลอดไฟ LED มาใช้กับเครื่องไฟฉุกเฉิน ป้ายไฟฉุกเฉิน ด้วยเช่นกันเนื่องด้วยหลอดไฟ LED มีจุดเด่นที่สำคัญดังนี้

  1. มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 50,000 ชั่วโมง และการรับประกันที่นานขึ้น 5-10 ปี (เฉพาะ LED สีขาว) *ขึ้นกับโรงงานผู้ผลิต*
  2. กินพลังงานต่ำแต่ให้ฟลักซ์ความส่องสว่างมาก และความร้อนของหลอด LED ที่น้อยกว่ามากเมื่อ เทียบกับหลอด HALOGEN แบบเดิม
  3. ง่ายต่อ การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างเนื่องจาก วิศวกรสามารถเลือกอุณหภูมิสีของแสง, ค่า CRI ที่ต้องการรวมไปถึงการเลือก Beam angle ที่ต้องการได้
  4. ใช้พลังงานเพียงแค่ 10-20 % เมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบเผาไส้แบบเดิม ซึ่งทำให้การสำรองไฟฉุกเฉินได้นานขึ้นและประหยัดพลังงานกว่าเดิม

หลักการดูแลรักษาไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง

1. ทำการเสียบปลั๊กเครื่องไฟฉุกเฉินเข้ากับไฟ 220V. AC ตลอดเวลาเพื่อให้แบตเตอรี่ได้รับการชาร์จไฟอยู่ตลอดเวลา

2. ควรมีการทดสอบเครื่องไฟฉุกเฉินเป็นระยะ ตามมาตรฐาน วสท. 2004-51 ได้ทำการกำหนดไว้ดังนี้

     การตรวจสอบราย 3 เดือน สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ (กดที่ปุ่มเทส TEST หรือทำการถอดปลั๊กออก) เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟฉุกเฉินทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาในการทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 30 นาที เป็นอย่างน้อย ระหว่งช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมไฟฉุกเฉินทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้องและเป็นปกติพร้อมใช้งาน

     การตรวจสอบราย 1 ปี สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ (กดที่ปุ่มเทส TEST หรือทำการถอดปลั๊กออก) เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟฉุกเฉินทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาในการทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 60 นาที เป็นอย่างน้อย ระหว่งช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมไฟฉุกเฉินทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้องและเป็นปกติพร้อมใช้งาน

3. หลังจากทำการทดสอบเครื่องไฟฉุกเฉินตามขั้นตอนในข้อ 2 แล้วต้องทำการจ่ายไฟฟ้าปกติเข้ามาในระบบในทันที เพื่อให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่ได้รับการประจุไฟอีกครั้ง

4. ไม่ควรทำการทดสอบโดยใช้ระยะเวลาเกินกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เนื่องจากถ้าเกิดความล้มเหลวของระบบจ่ายไฟปกติขึ้นหลังจากทำการทดสอบไม่นาน จะทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

5. ถ้าเครื่องไฟฉุกเฉินเกิดการขัดข้องในการใช้งานขึ้น ไม่ควรซ่อมเองให้ติดต่อผู้ผลิตเครื่องไฟฉุกเฉินเพื่อที่เครื่องจะได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

ความสำคัญของไฟฉุกเฉิน และ ป้ายไฟฉุกเฉิน

ไฟแสงสว่างฉุกเฉิน กับโคมไฟฉุกเฉิน,ป้ายทางออกฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก โดยทุกอาคารสำนักงาน อาคารสูงต้องติดตั้ง เพราะกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไฟดับ และเหตุการณ์ไม่คาดคิด จะสามารถช่วยผู้ที่อยู่ในอาคารได้อพยพหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยและทันเวลา

         แต่ก็ยังมีอาคารอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่มีการติดตั้งไฟแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน และเพื่อความปลอดภัยของชีวิตผู้มาใช้บริการอาคาร จึงมีกฎหมายบังคับโดย “วสท. ได้ร่วมกับ สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร และ สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ในการจัดทำมาตรฐานระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่เรียกรหัสย่อว่ามาตรฐาน วสท. 2004 โดยจัดทำแล้วเสร็จ และเริ่มใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544”

มาตรฐาน วสท. 2004 มาตรฐานระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน กำหนดให้ หากเกิดกรณีไฟฟ้า ไฟแสงสว่างดับแล้วอาคารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน สำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน สถานบันเทิง ร้านอาหาร คอนโดฯ ต้องติดตั้งระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉิน ที่ให้ระดับความส่องสว่างที่พื้นกึ่งกลางทางหนีไฟไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์

เพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถอพยพหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัยหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไฟดับ ซึ่งเป็นความปลอดภัยขั้นต่ำของอาคารตามกฎหมาย (กฎหมายปัจจุบัน เช่น กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555)

และยังได้กำหนดให้ต้องติดตั้งโคมไฟฟ้า,ป้ายบอกทางออกฉุกเฉินที่เหนือประตูทางออก และตลอดเส้นทางหนีไฟ โดยใช้รูปสัญลักษณ์คนก้าวขาผ่านประตูพร้อมกับลูกศร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รูปภาพตามมาตรฐานสากล ISO อันจะเป็นสัญลักษณ์ที่คนทุกชาติ ทุกภาษาเห็นรูปภาพแล้วจะเข้าใจได้ตรงกันว่านี่คือป้ายบอกทางออก หรือบางคนเรียกว่า ป้ายบอกทางหนีไฟ เป็นต้น

โดยมาตรฐานกำหนดการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน,ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่เส้นทางเดินหรือเส้นทางหนีไฟ ไว้ว่า หากสัญลักษณ์รูปภาพใหญ่ขนาดสูง 10 ซม. ก็ต้องติดตั้งโคมไฟ,ป้ายทางออกตามทางหนีไฟทุกระยะไม่เกิน 24 เมตร แต่หาก ระยะห่างไกลเกินกว่านั้นก็สามารถเลือกใช้โคมไฟฉุกเฉิน,ป้ายทางออกฉุกเฉิน ที่มีขนาดรูปภาพใหญ่ขึ้นเป็น 15 ซม. สำหรับระยะห่างได้ถึง 36 เมตร หรือ เลือกใช้สัญลักษณ์ใหญ่ 20 ซม. ก็สามารถติดระยะห่างได้ถึง 48 เมตร เป็นต้น

วิธีการสังเกตว่าอาคารที่เราเข้าไปใช้ มีความปลอดภัยของระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดีหรือไม่ สามารถสังเกตได้อย่างง่าย คือ อาคารนั้นควรมีการติดตั้งโคมไฟฟ้า,ป้ายทางออกที่เหนือประตูทางออก และ ควรมีโคมไฟฟ้าป้ายทางออกที่มองเห็นได้ในระยะไม่เกิน 24 เมตรจากจุดที่เราอยู่ และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกต้องส่องสว่างตลอดเวลาที่มีคนใช้งานอยู่ในอาคาร แต่ถ้าหากจากจุดที่เรายืนอยู่ เหลียวซ้ายแลขวา มองรอบตัวแล้วยังมองไม่เห็นโคมไฟฟ้าป้ายทางออกในระยะ 24 เมตรแล้ว ก็สันนิษฐานในเบื้องต้นได้เลยว่า อาคารดังกล่าวมีระบบป้องกันอัคคีภัยไม่ได้ตามมาตรฐาน และผู้ใช้อาคารก็จะมีความเสี่ยงภัยต่อชีวิตหากเข้าไปใช้บริการหรือทำงานในอาคารดังกล่าว เพราะถ้าหากเกิดไฟไหม้ ไฟดับแล้ว เขาจะไม่รู้เลยว่าควรจะออกจากอาคารได้ด้วยเส้นทางใด

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ก็ได้จัดทำมาตรฐาน มอก. ของผลิตภัณฑ์โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน,และโคมไฟฟ้า,ป้ายทางออกฉุกเฉิน เช่นกัน ดังนั้น การเลือกซื้อโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ก็ควรเป็นโคมไฟฟ้าที่มีคุณภาพ ผ่านมาตรฐาน มอก. 1102-2538 โคมไฟฟ้าฉุกเฉินชุดเบ็ดเสร็จ

      ส่วนการเลือกซื้อโคมไฟฟ้า,ป้ายบอกทางหนีไฟที่ดี ก็ควรได้มาตรฐาน มอก. 2430-2552 โคมไฟฟ้า,ป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร และการติดตั้งก็ควรต้องได้ตามมาตรฐาน มอก. 2539-2554 มาตรฐานการติดตั้งโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินชนิดส่องสว่างจากภายในสำหรับอาคาร

      โดยทางบริษัทมีจำหน่าย สินค้า ไฟฉุกเฉินป้ายไฟฉุกเฉิน ยี่ห้อ DYNO,SUNNY,MAX BRIGHT ,SAFEGUARD,BOSSTON ฯลฯ และทางโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ได้ผ่านมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1102-2538, มอก. 1955-2542 ทุกชิ้นแล้วทั้งสิ้น โดยผ่านการตรวจสอบว่าด้วยเรื่องการวัดค่ากำลังพิกัดกำลังไฟของ ไฟฉุกเฉิน LED,ป้ายไฟฉุกเฉิน LED,การทำงาน,วัสดุที่ใช้ประกอบ, แผงวงจร, หลอดLED และอื่นๆ จากสถาบันที่เชื่อถือได้ภายในประเทศ  รวมไปถึง คุณลักษณะของรูปแบบภาพ, ขนาด, รูปทรง, สี, ความสว่างของป้ายไฟ และประเภทของป้ายไฟฉุกเฉิน โดยป้ายไฟฉุกเฉินจะต้องให้แสงสว่าง คงที่และชัดเจน เป็นที่สังเกตได้ง่าย และทั้งหมดนี้ท่านจึงสามารถมอบความมั่นใจกับทางบริษัทได้ว่าสินค้าที่ทางท่านจะได้รับบริการจากทางบริษัทประเภท ไฟฉุกเฉิน LED,ป้ายไฟฉุกเฉิน LED ทุกชิ้นมีความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและมีการรับประกันอะไหล่ต่างๆเช่น แผงวงจร,หลอด LED ในตัวผลิตภัณฑ์ที่ยาวนานสูงสุดถึง 5 ปี

ระบบไฟฉุกเฉิน ไฟสำรองฉุกเฉิน ถือเป็นการรักษาความปลอดภัยอีกระบบ หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ในทุกอาคาร สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม
หรือแม้กระทั่งบ้านที่อยู่อาศัย ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน (Emergency Light System) หรือไฟฉุกเฉิน LED จะใช้สำหรับรองไฟฟ้า ระบบแสงสว่าง ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักเกิดดับกระทันหัน อุปกรณ์ ไฟฉุกเฉิน ก็จะทำงานทันที โดยให้แสงสว่างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานและในการมองเห็นทางออกจากอาคาร โรงงาน

ไฟฉุกเฉิน LED มีด้วยกันหลากหลายยี่ห้อที่ใช้กันตามบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงานหรือ ตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยไฟฉุกเฉินจะส่องให้แสงสว่างอัตโนมัติ

ช่วยผู้อาศัยอยู่ในบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงงาน สามารถมองเห็นพื้นที่ทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดไฟดับในเวลากลางคืนซึ่งนอกจากระบบไฟฉุกเฉินจะมีประโยชน์ในแง่ของการให้แสงสว่างแล้ว ไฟฉุกเฉิน เมื่อไฟฟ้าหลักดับลงแล้ว ไฟฉุกเฉิน ยังคงจะมีประโยชน์ในเรื่องของการให้แสงสว่างเพื่อการหนีภัย 

(Escape Lighting) หากเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างอัคคีภัย รวมถึงไฟส่องสว่างป้ายทางออก ป้ายไฟทางออก ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED (Exit Sign Luminaries)

ในระหว่างการหนีภัยจากอัคคีภัยอีกด้วย การเลือกอุปกรณ์โคมไฟฉุกเฉิน ระยะเวลาที่ผ่านมา ไฟฉุกเฉินได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากเทคโนโลยีในเรื่องของระบบทดสอบตัวเองของเครื่อง ไฟฉุกเฉิน(Auto-test system) ช่วยให้แบตเตอร์รี่จ่ายไฟออกมาในเวลาที่เครื่องได้ตั้งไว้ และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของ Battery อีกด้วย หรือการใช้รีโมต Remote Test ควบคุมเพื่อสั่งการทำงาน ของเครื่องในระยะไกลทำให้ประหยัดเวลาในการตรวจสอบได้มาก

การเลือกเครื่องไฟฉุกเฉินอาจเลือกตามระยะเวลาการใช้งาน
(Duration), จำนวนชั่วโมง, จำนวนหลอดไฟฉุกเฉินที่ใช้, ชนิดของหลอดไฟฉุกเฉิน คือ หลอดไฟฉุกเฉินไดคออิก ฮาโลเจน (DichroicHalogen) และหลอดไฟฉุกเฉินทังสเตน ฮาโลเจน (Tungsten Halogen) ซึ่งหลอดไฟแบบ ฮาโลเจนนี้ เป็นหลอดไฟที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความสามารถในการรักษาความสว่างเอาไว้ได้จนหมด อายุการใช้งานของหลอดไฟ หรืออีกชนิดหนึ่งคือ หลอดไฟ แอลอีดี (LED) ไฟฉุกเฉิน LED ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในการพัฒนาเอาหลอดแบบ แอลอีดี LED มาใช้กับเครื่อง ไฟฉุกเฉิน เนื่องจากจุดเด่นของหลอด แอลอีดี คือ มีอายุการใช้งานนาน ประหยัดพลังงาน กินพลังงานต่ำแต่ให้ฟลักซ์การส่องสว่างมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในแต่ละยี่ห้อด้วย

หลักการทำงานของไฟฉุกเฉิน
ไฟฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำกลั่น และ ชนิดแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้าและแปลง
กระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร off หน้า Contact relay เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่าง โดยการทำงานของไฟฉุกเฉินต้องสามารถทำงานได้เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว หรือ เมื่อเครื่องป้องกันกระแสเกินเปิดวงจร และแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินต้องทำงานได้อย่างต่อเนื่องและทำงานได้
อีกโดยอัตโนมัติ โดยการเปลี่ยนจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติมาเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉิน ต้องทำได้สมบูรณ์ภายใน 5 วินาที (EMERGENCY LIGHT)

 ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

    • ท่านสามารถติดต่อสอบถามขอราคาสินค้าและข้อมูลอื่นๆได้ตลอดเวลา ทางเราจะตอบข้อความของท่านภายใน 24 ชม. You can contact usforPrices,Quotationand informationany time.Wewill replyyour mess...
Visitors: 6,594,705