ไฟฉุกเฉิน SUNNY

2ขั้นตอนการใช้งานไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง

ก่อนใช้งานไฟฉุกเฉิน

1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินแต่ละยี่ห้อก่อนอันดับแรก

2.การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้นๆเช่นถ้าแบตเตอรี่เป็น
แบบเติมน้ำกลั่น เราก็ควรจะติดตั้งบริเวณตามทางเดินหรือในที่โล่ง หรือในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาซึ่งอาจก่อให้เกิด
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องนำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่สะดวกหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง

3.ควรให้แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินมีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด

เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

 

 

แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ซึ่งพอหลังจาก 2 ปี ไปแล้ว แบตเตอรี่จะค่อยๆเสื่อมสภาพลง

เช่น เก็บไฟได้น้อยลง ชาร์จไฟไม่เข้า แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินปวม หรือมีคราบเกลือเกาะ เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินใหม่

เพื่อให้ไฟฉุกเฉินนั้นมีประสิทธิภาพและพร้อมต่อการใช้งานมากที่สุด

ระบบเซ็นทรัลยูนิต(Central Unit) สำหรับไฟฉุกเฉิน SUNNY ที่ใช้กับหัวไฟ ชนิดต่างๆ

     อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน(Emergency Light System) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีไฟดับกระทันหัน ไฟฟ้าฉุกเฉินก็จะทำงานทันที ไฟฉุกเฉินมีด้วยกันหลายยี่ห้อที่ใช้ตามบ้านพักอาศัยหรือตามโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

ราคาสินค้า(จำนวนต่อชุด กรณีมีจำนวนจะเป็นราคาโครงการ ราคาส่ง)

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY SG, TM LED SERIES (BATTERY 3.2V.-6000mAh. LiFePO4)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 3.2V.-6000mAh. LED 2*9 Watts MODEL SG 209 CD 2 ราคา 1,800 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 3.2V.-6000mAh.*2 LED 2*9 Watts MODEL SG 209 CD 4 ราคา 2,000 บาท ก่อน VAT

ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 3.2V.-6000mAh.*2 LED 2*9 Watts MODEL SG 212 CD 3 ราคา 2,200 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 12V.-1.3Ah. LED 2*9 Watts MODEL SG 509 02 (ไม่รองรับรีโมทเทส) ราคา 1,700 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 3.2V.-6000mAh. LED 2*9 Watts MODEL TM 209 CD 2 ราคา 2,200 บาท ก่อน VAT

- REMOTE TEST SG ราคา 350 บาท ก่อน VAT

 

  ไฟฉุกเฉิน SUNNY SN LED SERIES (BATTERY 6V.-4.5Ah.)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 7 ชม. 6V-4.5AH 2*3 Watts MODEL SNP 203 NC 7 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 6V-4.5AH 2*9 Watts MODEL SNP 209 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 7 ชม. 6V-4.5AH 2*3 Watts MODEL SN 203 NC 7 LED ราคา 1,700 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 6V-4.5AH 2*9Watts MODEL SN 209 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY CU SERIES (ใช้รีโมทเทสการทำงานได้ / กล่องพลาสติก ABS)

  - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 12V-5AH 2*9 Watts MODEL CU 209 CD 4 LED ราคา 2,400 บาท ก่อน VAT

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 6 ชม. 12V-7AH 2*9 Watts MODEL CU 209 CD 6 LED ราคา 2,600 บาท ก่อน VAT

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 12V-5AH 2*12 Watts MODEL CU 212 CD 3 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 12V-7AH 2*12 Watts MODEL CU 212 CD 4 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 - REMOTE TEST CU ราคา 350 บาท ก่อน VAT

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY MCU NC LED 8 BIT SERIES (ใช้รีโมทเทสการทำงานได้ / กล่องพลาสติก ABS)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 12V-1.3AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 5 ชม. 12V-2.9AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 5 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 8 ชม. 12V-5AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 8 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 12V-2.9AH 2*6 Watts MODEL MCU 206 NC 3 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 5 ชม. 12V-5AH 2*6 Watts MODEL MCU 206 NC 5 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- REMOTE TEST MCU NC 8 BIT ราคา 350 บาท ก่อน VAT

  

วิธีการติดตั้ง (Installation) วิธีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน

1. โคมไฟฉุกเฉินติดตั้งแบบตั้งบนพื้นรับหรือแขวนติดกับผนัง

2. หลังจากติดตั้งแล้ว

- รุ่น SN SERIES ให้เปิดสวิทซ์ ON แล้วหลอดจะติดสว่าง
- รุ่น SAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง
- รุ่น NAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง

3. เสียบปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินเข้ากับปลั๊กไฟบ้านหลอดไฟจะดับ ข้อสังเกต

- LED  “AC” สีเหลืองจะติดสว่างแสดงว่าไฟเข้าเครื่องแล้ว
- LED  “CHARGE” สีแดงจะติดสว่างเมื่อโคมไฟกำลังชาร์จแบตเตอรี่
- LED  “FULL CHARGE” สีเขียวติดสว่างแสดงว่าแบตเตอรี่เต็ม
- LED สีเขียวอยู่เหนือสวิทซ์สว่าง (รุ่น SN) แสดงการตรวจเช็คหลอดไฟ
- LED  “OVER CHARGE” สีแดงจะต้องไม่ติดถ้าติดแสดงว่า FUSE ชาร์จขาด

4. ทดสอบวงจรและแบตเตอรี่โดยการกดสวิทซ์ TEST แล้วปล่อย หลอดไฟจะติดชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะดับไป

5. จำลองเวลาไฟดับ โดยการดึงปลั๊กไฟของตัวโคมไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟจะติดสว่า

6. เสียบปลั๊กกลับเพื่อให้โคมไฟพร้อมใช้งานเวลาไฟดับ

ข้อควรระวัง ไม่ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินติดกับผนังที่ รับความร้อนสูง เพราะจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติและในห้องที่มีความชื้นสูง เช่นห้องเย็น เพราะจะทำให้ตัวสินค้าเกิดสนิม และลัดวงจรเนื่องจากความชื้น

การแก้ไขเบื้องต้น (Preliminary Remedy)

อาการ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
 1. เสียบปลั๊กแล้วไม่มีไฟเข้าเครื่อง LED AC POWER ไม่ติด  - ตรวจสอบว่าปลั๊กมีไฟหรือไม่ หรือปลั๊กหลวม และตรวจสอบ AC.FUSE ว่าขาดหรือไม่
 2. ไฟดับหรือดึงปลั๊กออกหลอดไม่ติด  - ตรวจสอบว่าสวิทซ์อยู่ตำแหน่ง ONหรือไม่ วงจรมีปัญหา หรือแบตเตอรี่เสื่อมเรียกฝ่ายบริการ
 3. ระยะเวลาการใช้งานน้อยกว่าสเปคที่ระบุไว้  - ให้เสียบชาร์จไว้ 1 วัน แล้วดึงปลั๊กใหม่ , วงจรเสีย หรือแบตเตอรี่เสื่อมเรียกฝ่ายบริการ

 

 
คู่มือการใช้บริการ (User Manual) และการบำรุงรักษาเครื่องไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ  "SUNNY"
โคมไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ “SUNNY” จะอยู่ในสภาวะพร้อมใช้งานตลอดเวลา (Stand By) และมีวงจรประจุแบตเตอรี่อัตโนมัติอยู่ใน เครื่อง ( Automatic Battery Charger ) หากเกิดกรณีไฟฟ้าขัดข้องโคมไฟฉุกเฉินก็จะให้แสงสว่างอัตโนมัติแก่ผู้ใช้งานเมื่อไฟจาก การไฟฟ้ามาเป็นปกติหลอดไฟก็จะดับเอง และวงจรชาร์จก็จะทำการประจุแบตเตอรี่เพื่อให้โคมไฟฉุกเฉินพร้อมใช้งานต่อไป โคมไฟฉุกเฉิน “SUNNY” จะมีวงจรป้องการใช้แบตเตอรี่จนประจุหมด (Low Voltage Cut-Of) ที่ค่า 1.6-1.7 V/Call ตามมาตรฐาน
โคมไฟฉุกเฉิน “SUNNY” เป็นยี่ห้อเดียวที่มีชุด “Under Voltage” วงจรตรวจเช็คแรงดันจากการไฟฟ้า ต่ำกว่า 150-160 VAC. โคมไฟฉุกเฉินจะให้แสงสว่างสำรองเหตุผลที่มีก็เพราะว่า แรงดันค่านี้หลอดไฟทั่วไปนั้นจะดับไปแล้ว ในการใช้งานโคมไฟฉุกเฉินนั้นถ้าต้องการให้แสงสว่างยาวนานขึ้นก็ให้ใช้งานเพียงหลอดเดียวก็จะได้ระยะเวลาเพิ่มอีกเท่าตัว

การดูแลรักษาเครื่องหลังการติดตั้งเครื่องไฟฉุกเฉินทางฝ่ายช่างปะจำอาคารที่ทำการติดตั้งเครื่องไฟฉุกเฉิน ควรปฏิบัติดังนี้
ควรมีการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องไฟฉุกเฉินทุกๆเดือน ต้องทดสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้
1. กดสวิทซ์ “TEST” ว่าเครื่องทำงานเป็นปกติหรือไม่
2. ถอดปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องติดสว่าง โดยให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที  หรือปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งวงจรรักษาแบตเตอรี่ (Automatic Low Voltage Cut-Off  System) ของเครื่องไฟฉุกเฉินตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากทดสอบเสร็จ ให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินเข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมตามปกติ 
เพื่อเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ถ้าทำได้ทุกเดือนแบตเตอรี่จะใช้งานได้นาน 3 – 5   ปี 
3. กรณีที่ซื้อเครื่องไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการติดตั้งระยะเวลา 1 เดือน ให้นำเครื่องมาชาร์จเป็นเวลา 10-15 ชม. เพื่อให้แบตเตอรี่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุ 
สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบระบบเครื่องไฟฉุกเฉิน ทุกๆเดือน มีดังนี้
1. แบตเตอรี่จะต้องได้รับการคายและชาร์จประจุเพราะถ้าแบตเตอรี่ไม่มีการคายและชาร์จประจุแบตเตอรี่จะเกิดการเสื่อมสภาพของสารเคมีที่มีภายในแบตเตอรี่ ทำให้เกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่    มีผลทำให้ตัวแบตเตอรี่เสีย หรือเสื่อมสภาพการทำงานและหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น
2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์เครื่องไฟฉุกเฉินว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ถ้าการทำงานไม่เป็นปกติ   ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของทางบริษัทฯ ทันที

 

คุณสมบัติทั่วไปของไฟฉุกเฉิน
- แรงดันไฟฟ้าเข้า AC 220 Volt 50 Hz,+,- 10%, 1 Phase. 
- ชนิดมีแบตเตอรี่พร้อมใช้งานและระบบควบคุมอัตโนมัติแบบ Solid State ที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าเข้า และกระจายประจุของแบตเตอรี่
  อย่างแม่นยำ โดยระบบควบคุมมีการตัดวงจรเมื่อมีการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงขีดแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่ชนิด Sealed Lead Acid Battery หรือ Nickel Cadmium ขนาดแรงดัน DC 6 Volt หรือ 12 Volt โดยมีประจุขนาดกำลังสามารถ
  จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟฉุกเฉิน 

- ระบบประจุแบตเตอรี่ควบคุมประสิทธิภาพด้วย IC (Integrate Circuit) ที่ให้ความแม่นยำเที่ยงตรงสูงสามารถประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้เต็ม
  ความจุของแบตเตอรี่ 
  : Constant Voltage Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Sealed Lead Acid หรือ
  : Constant Current Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Nickel Cadmium

- ระบบการทดสอบเพื่อจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line 
   : แบบธรรมดา (Manual Test) หรือ
   : แบบอัตโนมัติ (Automatic Time Test System) (Option)

- สวิตซ์เพื่อปิดหลอดไฟฉุกเฉินขณะที่เกิดความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line เพื่อเป็นการประหยัดไฟจากแบตเตอรี่ในเวลา
  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งาน 

ระบบป้องกัน (Protection System) 
1. ระบบป้องกันแบตเตอรี่คุณภาพสูง ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่า
   - ป้องกันการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Low Voltage Cut - Off)
   - ป้องกันการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ถึงแรงดันที่เป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Hight Voltage Cut - Off) 
2. ระบบป้องกันการลัดวงจร
  - AC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านแรงดันไฟฟ้าเข้า AC Line
  - DC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านระบบวงจรประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่

- มีช่องระบายความร้อนอย่างพอเพียง และมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น 
  : Test Button 
  : ON/OFF Button
  : Indicating Lamp

- สามารถเพิ่มเติมและปรับเสริมอุปกรณ์พิเศษได้ตามความต้องการ เช่น 
  : ระบบทดสอบระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Remote Test) ด้วยรีโมทแบบอินฟราเรด (Infrared Remote Test) และระบบทดสอบ
    การทำงานอัตโนมัติ (Automatic Time Test System) เป็นต้น 

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

ไฟฉุกเฉิน (Emergency light) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในตัวอาคาร สำนักงาน โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ หรือไฟหลักจากการไฟฟ้าล้มเหลว โคมไฟฉุกเฉินจะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติ ภายใน 1-3วินาที โดยอาศัยกำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ BATTERY ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา โดยตัวไฟฉุกเฉินจะชาร์จพลังงานในตอนที่ไฟฟ้าปกติ หากเกิดเหตุการณ์ไฟดับตัวไฟฉุกเฉินจะดึงพลังงานที่ชาร์จไว้ใน BATTERY ออกมาใช้ทันที นับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีติดอาคาร สำนักงานไว้ เพื่อพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไฟดับ

ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมาควบคุมให้อาคาร หอพัก สำนักงานต่างๆ ต้องควบคุมให้มีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินไว้ เพื่อป้องอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่อยู่ในอาคาร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้นโดยในทุก ๆ อาคาร ทุก ๆ สถานที่ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือ ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) ที่จะติดตั้งอยู่ตามบริเวณทางเดิน หรือทางออกฉุกเฉิน แล้วไฟฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉิน คือ เครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือจับสัญญาณได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีค่าความสว่างต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานของแต่ละรุ่น) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน นำทางไปยังป้ายทางออกฉุกเฉิน และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย

ตัวอย่างบริเวณที่ต้องมีโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฉุกเฉิน

เส้นทางหนีภัย หรือทางหนีไฟ, บริเวณทางออกอาคาร, บริเวณภายนอกอาคารทางแยก และทางเลี้ยวในอาคาร, พื้นที่เปลี่ยนระดับ, พื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานดับเพลิงเจ้าหน้าที่พนักงานกู้ภัยในลิฟต์ดับเพลิง, บริเวณพื้นที่งานอันตรายต่าง ๆ, บริเวณห้องน้ำ บันไดเลื่อน และทางเลื่อน

โดยที่โคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง โดยแบตเตอรี่ และเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ โคมไฟฉุกเฉินจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการส่องสว่าง ซึ่งระยะเวลาการส่องสว่างจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของโคมไฟฉุกเฉินและขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะต้องส่องสว่างอยู่ได้นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไปตามมาตรฐาน กำหนด วสท.

ในปัจจุบัน มีโคมไฟฉุกเฉินจัดจำหน่ายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันทั่วไป เพราะให้แสงสว่างได้สูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังวัตต์ต่ำมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องนาน 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะนำมาติดตั้งแบบแขวนผนังตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของอาคาร

โคมไฟฉุกเฉิน โดยส่วนใหญ่ ปัจจุบันจะมาพร้อมกับระบบ Auto Check ที่คอยตรวจเช็กสมรรถนะของตัวเครื่องและแจ้งเตือนความผิดปกติอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ และวงจรแสงสว่าง ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าโคมไฟฉุกเฉินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จ ที่ช่วยปกป้องกระบวนการชาร์จแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์

เลือกซื้อไฟฉุกเฉินให้คุ้มค่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ไม่เคยซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้งาน อาจไม่รู้ว่าควรเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินอย่างไรดี เพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินมาใช้งานอย่างคุ้มค่า เรามีคำแนะนำในการเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาฝาก สามารถเลือกซื้อได้ตามหัวข้อเหล่านี้เลย

การให้แสงสว่าง : โคมไฟฉุกเฉินแบบ 2 หัวโคม จะกระจายแสงได้ดีกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบเดี่ยว

บริเวณที่ติดตั้ง : โคมไฟฉุกเฉินแต่ละแบบจะเหมาะกับการติดตั้งบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น หากต้องการติดตั้งบริเวณทางเดินของอาคาร จะแนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินแบบซ่อนฝ้า หรือดาวน์ไลท์ จะเหมาะมากกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบแขวนผนัง เป็นต้น

ระยะเวลาในการส่องสว่าง : แนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินที่สามารถส่องสว่างได้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้น

มาตรฐานของโคมไฟฉุกเฉิน : เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน แนะนำให้เลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าต่าง ๆ ทั้งตัวเครื่องและแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉิน เช่น มาตรฐาน มอก., CE Mark หรือ Rohs Mar เป็นต้น

การรับประกันสินค้า : เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากโคมไฟฉุกเฉินมีอายุการใช้งานหลายปี หากไม่มีการรับประกันสินค้า หรือการดูแลหลังการขาย เมื่อตัวเครื่องขัดข้องก็อาจเกิดปัญหา ไม่สามารถหาคนมาซ่อมแซมได้

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น มีดังนี้

การเก็บรักษาโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ควรเก็บในอุณหภูมิห้องที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และทุก ๆ  3 เดือนควรนำโคมไฟฉุกเฉินมาทำการชาร์จประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม เพื่อถนอมรักษาคุณภาพแบตเตอรี่

หลังจากที่ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินแล้ว แนะนำให้เสียบปลั๊กไฟฟ้า เพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ

ข้อควรระวังในการติดตั้งไฟฉุกเฉิน มีดังนี้

 วรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินภายในอาคาร ปราศจากแสงแดดกระทบโดยตรง ไม่ควรติดตั้งบริเวณที่เปียกชื้น หรือมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉินได้

หากใช้ไฟฉุกเฉินที่ใช้แบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไม่ควรติดตั้งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เนื่องจากไอตะกั่วที่ระเหยจากแบตเตอรี่จะกระจายในอากาศ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้

ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินในบริเวณที่มั่นคง และแข็งแรง เนื่องจากแบตเตอรี่มักมีน้ำหนักมาก อาจร่วงหล่นลงมา และเป็นอันตรายกับผู้ใช้อาคารได้

 


  • DYNO LFG.jpg
    ไฟฉุกเฉิน(Emergency Light) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED ก่อนใช้งานไฟฉุกเฉินDYNO 1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินDYNOก่อนอันดับแรก 2.การติดตั้งไฟฉุกเฉินควรคำนึง...

  • ไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT.jpg
    MAX BRIGHT ไฟฉุกเฉิน Emergency Light ระบบไฟฉุกเฉิน (Emergency Light System) เป็นการให้แสงสว่างฉุกเฉินเมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว รวมถึงการให้แสงสว่างเพื่อการหนีภัย (Escape Ligh...

  • ไฟฉุกเฉิน SAFEGUARD
    ไฟฉุกเฉินSAFEGUARD 1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินSAFEGUARDก่อนอันดับแรก 2.การติดตั้งไฟฉุกเฉินควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้นๆเช่นถ้าแบตเตอรี่เป็นแบบเติมน้...
Visitors: 7,596,926