บทความไฟฉุกเฉิน Emergency Light.

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)

จุดประสงค์การใช้ทำงาน ไฟฉุกเฉินคือ ใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่อง
จะส่องสว่างอัตโนมัติ เพื่อให้หน่วยงานมีแสงสว่างในเวลากลางคืน

หลักการทำงานของไฟฉุกเฉินคือ
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำ
กลั่น และชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact
ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้า
และแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อ
ไม่ให้หลอดไฟสว่าง

ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง
ก่อนใช้งาน
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
- การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่
แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่ดีหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง
ระหว่างการใช้งาน
- ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
- ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
- ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
- ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

การบำรุงรักษาไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
- ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
- คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

ข้อควรระวังในการใช้งานไฟฉุกเฉิน
1. ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
2. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
3. ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

ไฟฉุกเฉิน (Emergency light) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในตัวอาคาร สำนักงาน โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับ หรือไฟหลักจากการไฟฟ้าล้มเหลว โคมไฟฉุกเฉินจะติดสว่างขึ้นมาอัตโนมัติ ภายใน 1-3วินาที โดยอาศัยกำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ BATTERY ซึ่งจะชาร์จอยู่กับไฟบ้านตลอดเวลา โดยตัวไฟฉุกเฉินจะชาร์จพลังงานในตอนที่ไฟฟ้าปกติ หากเกิดเหตุการณ์ไฟดับตัวไฟฉุกเฉินจะดึงพลังงานที่ชาร์จไว้ใน BATTERY ออกมาใช้ทันที นับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมีติดอาคาร สำนักงานไว้ เพื่อพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไฟดับ

ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมาควบคุมให้อาคาร หอพัก สำนักงานต่างๆ ต้องควบคุมให้มีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉินไว้ เพื่อป้องอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่อยู่ในอาคาร เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับขึ้นโดยในทุก ๆ อาคาร ทุก ๆ สถานที่ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือ ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light) ที่จะติดตั้งอยู่ตามบริเวณทางเดิน หรือทางออกฉุกเฉิน แล้วไฟฉุกเฉิน

ไฟฉุกเฉิน คือ เครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่องจะส่องสว่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือจับสัญญาณได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีค่าความสว่างต่ำกว่าที่ตั้งค่าไว้ (ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานของแต่ละรุ่น) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อยู่ในอาคารสามารถมองเห็นทัศนียภาพได้อย่างชัดเจน นำทางไปยังป้ายทางออกฉุกเฉิน และอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย

ตัวอย่างบริเวณที่ต้องมีโคมไฟฉุกเฉินตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฉุกเฉิน

เส้นทางหนีภัย หรือทางหนีไฟ, บริเวณทางออกอาคาร, บริเวณภายนอกอาคารทางแยก และทางเลี้ยวในอาคาร, พื้นที่เปลี่ยนระดับ, พื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานดับเพลิงเจ้าหน้าที่พนักงานกู้ภัยในลิฟต์ดับเพลิง, บริเวณพื้นที่งานอันตรายต่าง ๆ, บริเวณห้องน้ำ บันไดเลื่อน และทางเลื่อน

โดยที่โคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าสำรอง โดยแบตเตอรี่ และเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ โคมไฟฉุกเฉินจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในการส่องสว่าง ซึ่งระยะเวลาการส่องสว่างจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของโคมไฟฉุกเฉินและขนาดแบตเตอรี่ที่ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะต้องส่องสว่างอยู่ได้นาน 2 ชั่วโมงขึ้นไปตามมาตรฐาน กำหนด วสท.

ในปัจจุบัน มีโคมไฟฉุกเฉินจัดจำหน่ายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เป็นโคมไฟฉุกเฉินที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันทั่วไป เพราะให้แสงสว่างได้สูง แต่ใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังวัตต์ต่ำมาก มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถให้แสงสว่างอย่างต่อเนื่องนาน 2 – 3 ชั่วโมง โดยจะนำมาติดตั้งแบบแขวนผนังตามจุดสำคัญต่าง ๆ ของอาคาร

โคมไฟฉุกเฉิน โดยส่วนใหญ่ ปัจจุบันจะมาพร้อมกับระบบ Auto Check ที่คอยตรวจเช็กสมรรถนะของตัวเครื่องและแจ้งเตือนความผิดปกติอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ หลอดไฟ ฟิวส์ และวงจรแสงสว่าง ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าโคมไฟฉุกเฉินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ที่สำคัญยังมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยระบบการชาร์จ ที่ช่วยปกป้องกระบวนการชาร์จแบตเตอรี่อย่างสมบูรณ์

เลือกซื้อไฟฉุกเฉินให้คุ้มค่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง?

สำหรับคนที่ไม่เคยซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้งาน อาจไม่รู้ว่าควรเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินอย่างไรดี เพื่อให้คุณสามารถเลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินมาใช้งานอย่างคุ้มค่า เรามีคำแนะนำในการเลือกซื้อโคมไฟฟ้าฉุกเฉินมาฝาก สามารถเลือกซื้อได้ตามหัวข้อเหล่านี้เลย

การให้แสงสว่าง : โคมไฟฉุกเฉินแบบ 2 หัวโคม จะกระจายแสงได้ดีกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบเดี่ยว

บริเวณที่ติดตั้ง : โคมไฟฉุกเฉินแต่ละแบบจะเหมาะกับการติดตั้งบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น หากต้องการติดตั้งบริเวณทางเดินของอาคาร จะแนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินแบบซ่อนฝ้า หรือดาวน์ไลท์ จะเหมาะมากกว่าโคมไฟฉุกเฉินแบบแขวนผนัง เป็นต้น

ระยะเวลาในการส่องสว่าง : แนะนำให้เลือกโคมไฟฉุกเฉินที่สามารถส่องสว่างได้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้น

มาตรฐานของโคมไฟฉุกเฉิน : เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน แนะนำให้เลือกซื้อโคมไฟฉุกเฉินที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้าต่าง ๆ ทั้งตัวเครื่องและแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉิน เช่น มาตรฐาน มอก., CE Mark หรือ Rohs Mar เป็นต้น

การรับประกันสินค้า : เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากโคมไฟฉุกเฉินมีอายุการใช้งานหลายปี หากไม่มีการรับประกันสินค้า หรือการดูแลหลังการขาย เมื่อตัวเครื่องขัดข้องก็อาจเกิดปัญหา ไม่สามารถหาคนมาซ่อมแซมได้

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

วิธีดูแลโคมไฟฉุกเฉินให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น มีดังนี้

การเก็บรักษาโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ควรเก็บในอุณหภูมิห้องที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และทุก ๆ  3 เดือนควรนำโคมไฟฉุกเฉินมาทำการชาร์จประจุแบตเตอรี่ให้เต็ม เพื่อถนอมรักษาคุณภาพแบตเตอรี่

หลังจากที่ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินแล้ว แนะนำให้เสียบปลั๊กไฟฟ้า เพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับ

ข้อควรระวังในการติดตั้งไฟฉุกเฉิน มีดังนี้

 ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินภายในอาคาร ปราศจากแสงแดดกระทบโดยตรง ไม่ควรติดตั้งบริเวณที่เปียกชื้น หรือมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะอาจส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉินได้

หากใช้ไฟฉุกเฉินที่ใช้แบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไม่ควรติดตั้งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เนื่องจากไอตะกั่วที่ระเหยจากแบตเตอรี่จะกระจายในอากาศ และเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้

ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินในบริเวณที่มั่นคง และแข็งแรง เนื่องจากแบตเตอรี่มักมีน้ำหนักมาก อาจร่วงหล่นลงมา และเป็นอันตรายกับผู้ใช้อาคารได้

 

Visitors: 7,601,770