ป้ายไฟฉุกเฉิน

ป้ายไฟฉุกเฉิน Emergency Exit Signs

ป้ายไฟฉุกเฉิน (Emergency Exit Signs)
จุดประสงค์การใช้ทำงาน ไฟฉุกเฉินคือ ใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่อง
จะส่องสว่างอัตโนมัติ เพื่อให้หน่วยงานมีแสงสว่างในเวลากลางคืน

รูปแบบการติดตั้ง ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน

 

หลักการทำงานของป้ายไฟฉุกเฉินคือ

เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำ

กลั่น และชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact
ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้า
และแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อ
ไม่ให้หลอดไฟสว่าง

ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง
ก่อนใช้งาน
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
- การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่
แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่ดีหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง
ระหว่างการใช้งาน
- ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
- ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
- ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
- ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

การบำรุงรักษาป้ายไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
- ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
- คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

โดยเลือกระยะเวลาการใช้งาน(Duration) จำนวนชั่วโมง จำนวนหลอดไฟฉุกเฉินที่ใช้ ชนิดของหลอดไฟฉุกเฉิน คือ หลอดไฟฉุกเฉินไดคออิก ฮาโลเจน(Dichroic Halogen)และหลอดไฟฉุกเฉินทังสเตนส์ ฮาโลเจน(Tungsten Halogen) หรือ แอลอีดี(LED)

การดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฉุกเฉิน โคมไฟฉุกเฉิน หลังการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน

ฝ่ายช่างหรือผู้ดูแลโคมไปฉุกเฉิน ต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงานของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ทุกๆ เดือน โดยวิธีทดสอบ ดังนี้

1. ทดสอบที่ตัวโคมไฟฟ้าฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉิน โดยกดสวิตช์ TEST หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องติดสว่าง ปล่อยสวิตช์หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่อกับเครื่องไฟก็จะดับ

2. ถอดปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินหรือไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องติดสว่าง และให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังการทดสอบให้เสียบปลั๊กไฟของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน เข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมให้มีการอัดประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรรี่ ของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน

สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบระบบโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน หรือ ไฟฉุกเฉิน ทุกๆเดือน

1. แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉิน หรือ โคมไฟฉุกเฉิน จะได้มีการคายประจุและอัดประจุไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของสารเคมีทีมีภายในแบตเตอรี่หรือเกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่ ของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน มีผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพการทำงาน และหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น

2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์โคมไฟฟ้าฉุกเฉิน ไฟฉุกเฉิน ว่ามีทำงานที่เป็นปกติดีหรือไม่ ถ้าการทำงานไม่ปกติ ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของบริษัทได้ทันที

ข้อควรระวังในการใช้งานป้ายไฟฉุกเฉิน
1. ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
2. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
3. ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

Visitors: 6,594,712