ไฟฉุกเฉิน SUNNY

2ขั้นตอนการใช้งานไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง

ก่อนใช้งานไฟฉุกเฉิน

1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินแต่ละยี่ห้อก่อนอันดับแรก

2.การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้นๆเช่นถ้าแบตเตอรี่เป็น
แบบเติมน้ำกลั่น เราก็ควรจะติดตั้งบริเวณตามทางเดินหรือในที่โล่ง หรือในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาซึ่งอาจก่อให้เกิด
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องนำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่สะดวกหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง

3.ควรให้แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินมีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด

เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

 

 

แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี ซึ่งพอหลังจาก 2 ปี ไปแล้ว แบตเตอรี่จะค่อยๆเสื่อมสภาพลง

เช่น เก็บไฟได้น้อยลง ชาร์จไฟไม่เข้า แบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินปวม หรือมีคราบเกลือเกาะ เราจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฉุกเฉินใหม่

เพื่อให้ไฟฉุกเฉินนั้นมีประสิทธิภาพและพร้อมต่อการใช้งานมากที่สุด

ระบบเซ็นทรัลยูนิต(Central Unit) สำหรับไฟฉุกเฉิน SUNNY ที่ใช้กับหัวไฟ ชนิดต่างๆ

     อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน(Emergency Light System) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับสำรองไฟฟ้าฉุกเฉินกรณีไฟดับกระทันหัน ไฟฟ้าฉุกเฉินก็จะทำงานทันที ไฟฉุกเฉินมีด้วยกันหลายยี่ห้อที่ใช้ตามบ้านพักอาศัยหรือตามโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

ราคาสินค้า(จำนวนต่อชุด กรณีมีจำนวนจะเป็นราคาโครงการ ราคาส่ง)

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY SG, TM LED SERIES (BATTERY 3.2V.-6000mAh. LiFePO4)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 3.2V.-6000mAh. LED 2*9 Watts MODEL SG 209 CD 2 ราคา 1,800 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 3.2V.-6000mAh.*2 LED 2*9 Watts MODEL SG 209 CD 4 ราคา 2,000 บาท ก่อน VAT

ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 3.2V.-6000mAh.*2 LED 2*9 Watts MODEL SG 212 CD 3 ราคา 2,200 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 12V.-1.3Ah. LED 2*9 Watts MODEL SG 509 02 (ไม่รองรับรีโมทเทส) ราคา 1,700 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 3.2V.-6000mAh. LED 2*9 Watts MODEL TM 209 CD 2 ราคา 2,200 บาท ก่อน VAT

- REMOTE TEST SG ราคา 350 บาท ก่อน VAT

 

  ไฟฉุกเฉิน SUNNY SN LED SERIES (BATTERY 6V.-4.5Ah.)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 7 ชม. 6V-4.5AH 2*3 Watts MODEL SNP 203 NC 7 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 6V-4.5AH 2*9 Watts MODEL SNP 209 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 7 ชม. 6V-4.5AH 2*3 Watts MODEL SN 203 NC 7 LED ราคา 1,700 บาท ก่อน VAT

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 6V-4.5AH 2*9Watts MODEL SN 209 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY CU SERIES (ใช้รีโมทเทสการทำงานได้ / กล่องพลาสติก ABS)

  - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 12V-5AH 2*9 Watts MODEL CU 209 CD 4 LED ราคา 2,400 บาท ก่อน VAT

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 6 ชม. 12V-7AH 2*9 Watts MODEL CU 209 CD 6 LED ราคา 2,600 บาท ก่อน VAT

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 12V-5AH 2*12 Watts MODEL CU 212 CD 3 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 - ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 4 ชม. 12V-7AH 2*12 Watts MODEL CU 212 CD 4 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

 - REMOTE TEST CU ราคา 350 บาท ก่อน VAT

 

ไฟฉุกเฉิน SUNNY MCU NC LED 8 BIT SERIES (ใช้รีโมทเทสการทำงานได้ / กล่องพลาสติก ABS)

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 2 ชม. 12V-1.3AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 2 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 5 ชม. 12V-2.9AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 5 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 8 ชม. 12V-5AH 2*3 Watts MODEL MCU 203 NC 8 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 3 ชม. 12V-2.9AH 2*6 Watts MODEL MCU 206 NC 3 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- ไฟฉุกเฉิน สำรองไฟได้ 5 ชม. 12V-5AH 2*6 Watts MODEL MCU 206 NC 5 LED *** ยกเลิกการผลิต ***

- REMOTE TEST MCU NC 8 BIT ราคา 350 บาท ก่อน VAT

  

วิธีการติดตั้ง (Installation) วิธีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน

1. โคมไฟฉุกเฉินติดตั้งแบบตั้งบนพื้นรับหรือแขวนติดกับผนัง

2. หลังจากติดตั้งแล้ว

- รุ่น SN SERIES ให้เปิดสวิทซ์ ON แล้วหลอดจะติดสว่าง
- รุ่น SAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง
- รุ่น NAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง

3. เสียบปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินเข้ากับปลั๊กไฟบ้านหลอดไฟจะดับ ข้อสังเกต

- LED  “AC” สีเหลืองจะติดสว่างแสดงว่าไฟเข้าเครื่องแล้ว
- LED  “CHARGE” สีแดงจะติดสว่างเมื่อโคมไฟกำลังชาร์จแบตเตอรี่
- LED  “FULL CHARGE” สีเขียวติดสว่างแสดงว่าแบตเตอรี่เต็ม
- LED สีเขียวอยู่เหนือสวิทซ์สว่าง (รุ่น SN) แสดงการตรวจเช็คหลอดไฟ
- LED  “OVER CHARGE” สีแดงจะต้องไม่ติดถ้าติดแสดงว่า FUSE ชาร์จขาด

4. ทดสอบวงจรและแบตเตอรี่โดยการกดสวิทซ์ TEST แล้วปล่อย หลอดไฟจะติดชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะดับไป

5. จำลองเวลาไฟดับ โดยการดึงปลั๊กไฟของตัวโคมไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟจะติดสว่า

6. เสียบปลั๊กกลับเพื่อให้โคมไฟพร้อมใช้งานเวลาไฟดับ

ข้อควรระวัง ไม่ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินติดกับผนังที่ รับความร้อนสูง เพราะจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติและในห้องที่มีความชื้นสูง เช่นห้องเย็น เพราะจะทำให้ตัวสินค้าเกิดสนิม และลัดวงจรเนื่องจากความชื้น

การแก้ไขเบื้องต้น (Preliminary Remedy)

อาการ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
 1. เสียบปลั๊กแล้วไม่มีไฟเข้าเครื่อง LED AC POWER ไม่ติด  - ตรวจสอบว่าปลั๊กมีไฟหรือไม่ หรือปลั๊กหลวม และตรวจสอบ AC.FUSE ว่าขาดหรือไม่
 2. ไฟดับหรือดึงปลั๊กออกหลอดไม่ติด  - ตรวจสอบว่าสวิทซ์อยู่ตำแหน่ง ONหรือไม่ วงจรมีปัญหา หรือแบตเตอรี่เสื่อมเรียกฝ่ายบริการ
 3. ระยะเวลาการใช้งานน้อยกว่าสเปคที่ระบุไว้  - ให้เสียบชาร์จไว้ 1 วัน แล้วดึงปลั๊กใหม่ , วงจรเสีย หรือแบตเตอรี่เสื่อมเรียกฝ่ายบริการ

 

 
คู่มือการใช้บริการ (User Manual) และการบำรุงรักษาเครื่องไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ  "SUNNY"
โคมไฟฉุกเฉินอัตโนมัติ “SUNNY” จะอยู่ในสภาวะพร้อมใช้งานตลอดเวลา (Stand By) และมีวงจรประจุแบตเตอรี่อัตโนมัติอยู่ใน เครื่อง ( Automatic Battery Charger ) หากเกิดกรณีไฟฟ้าขัดข้องโคมไฟฉุกเฉินก็จะให้แสงสว่างอัตโนมัติแก่ผู้ใช้งานเมื่อไฟจาก การไฟฟ้ามาเป็นปกติหลอดไฟก็จะดับเอง และวงจรชาร์จก็จะทำการประจุแบตเตอรี่เพื่อให้โคมไฟฉุกเฉินพร้อมใช้งานต่อไป โคมไฟฉุกเฉิน “SUNNY” จะมีวงจรป้องการใช้แบตเตอรี่จนประจุหมด (Low Voltage Cut-Of) ที่ค่า 1.6-1.7 V/Call ตามมาตรฐาน
โคมไฟฉุกเฉิน “SUNNY” เป็นยี่ห้อเดียวที่มีชุด “Under Voltage” วงจรตรวจเช็คแรงดันจากการไฟฟ้า ต่ำกว่า 150-160 VAC. โคมไฟฉุกเฉินจะให้แสงสว่างสำรองเหตุผลที่มีก็เพราะว่า แรงดันค่านี้หลอดไฟทั่วไปนั้นจะดับไปแล้ว ในการใช้งานโคมไฟฉุกเฉินนั้นถ้าต้องการให้แสงสว่างยาวนานขึ้นก็ให้ใช้งานเพียงหลอดเดียวก็จะได้ระยะเวลาเพิ่มอีกเท่าตัว

การดูแลรักษาเครื่องหลังการติดตั้งเครื่องไฟฉุกเฉินทางฝ่ายช่างปะจำอาคารที่ทำการติดตั้งเครื่องไฟฉุกเฉิน ควรปฏิบัติดังนี้
ควรมีการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องไฟฉุกเฉินทุกๆเดือน ต้องทดสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้
1. กดสวิทซ์ “TEST” ว่าเครื่องทำงานเป็นปกติหรือไม่
2. ถอดปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องติดสว่าง โดยให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที  หรือปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งวงจรรักษาแบตเตอรี่ (Automatic Low Voltage Cut-Off  System) ของเครื่องไฟฉุกเฉินตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ หลังจากทดสอบเสร็จ ให้เสียบปลั๊กไฟของเครื่องไฟฉุกเฉินเข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมตามปกติ 
เพื่อเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่ถ้าทำได้ทุกเดือนแบตเตอรี่จะใช้งานได้นาน 3 – 5   ปี 
3. กรณีที่ซื้อเครื่องไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการติดตั้งระยะเวลา 1 เดือน ให้นำเครื่องมาชาร์จเป็นเวลา 10-15 ชม. เพื่อให้แบตเตอรี่พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา
หมายเหตุ 
สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบระบบเครื่องไฟฉุกเฉิน ทุกๆเดือน มีดังนี้
1. แบตเตอรี่จะต้องได้รับการคายและชาร์จประจุเพราะถ้าแบตเตอรี่ไม่มีการคายและชาร์จประจุแบตเตอรี่จะเกิดการเสื่อมสภาพของสารเคมีที่มีภายในแบตเตอรี่ ทำให้เกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่    มีผลทำให้ตัวแบตเตอรี่เสีย หรือเสื่อมสภาพการทำงานและหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น
2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์เครื่องไฟฉุกเฉินว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ถ้าการทำงานไม่เป็นปกติ   ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของทางบริษัทฯ ทันที

 

คุณสมบัติทั่วไปของไฟฉุกเฉิน
- แรงดันไฟฟ้าเข้า AC 220 Volt 50 Hz,+,- 10%, 1 Phase. 
- ชนิดมีแบตเตอรี่พร้อมใช้งานและระบบควบคุมอัตโนมัติแบบ Solid State ที่ควบคุมการประจุกระแสไฟฟ้าเข้า และกระจายประจุของแบตเตอรี่
  อย่างแม่นยำ โดยระบบควบคุมมีการตัดวงจรเมื่อมีการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงขีดแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่ชนิด Sealed Lead Acid Battery หรือ Nickel Cadmium ขนาดแรงดัน DC 6 Volt หรือ 12 Volt โดยมีประจุขนาดกำลังสามารถ
  จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหลอดไฟฉุกเฉิน 

- ระบบประจุแบตเตอรี่ควบคุมประสิทธิภาพด้วย IC (Integrate Circuit) ที่ให้ความแม่นยำเที่ยงตรงสูงสามารถประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ได้เต็ม
  ความจุของแบตเตอรี่ 
  : Constant Voltage Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Sealed Lead Acid หรือ
  : Constant Current Charge System สำหรับแบตเตอรี่ Nickel Cadmium

- ระบบการทดสอบเพื่อจำลองความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line 
   : แบบธรรมดา (Manual Test) หรือ
   : แบบอัตโนมัติ (Automatic Time Test System) (Option)

- สวิตซ์เพื่อปิดหลอดไฟฉุกเฉินขณะที่เกิดความล้มเหลวของแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติ AC Line เพื่อเป็นการประหยัดไฟจากแบตเตอรี่ในเวลา
  ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งาน 

ระบบป้องกัน (Protection System) 
1. ระบบป้องกันแบตเตอรี่คุณภาพสูง ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่า
   - ป้องกันการคายประจุจากแบตเตอรี่ถึงแรงดันไฟฟ้าที่จะเป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Low Voltage Cut - Off)
   - ป้องกันการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ถึงแรงดันที่เป็นอันตรายต่อแบตเตอรี่ (Hight Voltage Cut - Off) 
2. ระบบป้องกันการลัดวงจร
  - AC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านแรงดันไฟฟ้าเข้า AC Line
  - DC Protection ป้องกันการลัดวงจรทางด้านระบบวงจรประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่

- มีช่องระบายความร้อนอย่างพอเพียง และมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น 
  : Test Button 
  : ON/OFF Button
  : Indicating Lamp

- สามารถเพิ่มเติมและปรับเสริมอุปกรณ์พิเศษได้ตามความต้องการ เช่น 
  : ระบบทดสอบระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Remote Test) ด้วยรีโมทแบบอินฟราเรด (Infrared Remote Test) และระบบทดสอบ
    การทำงานอัตโนมัติ (Automatic Time Test System) เป็นต้น 

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light), ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit sign) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED

 

  • DYNO LFG.jpg
    ไฟฉุกเฉิน(Emergency Light) ไฟฉุกเฉิน LED, ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน LED ก่อนใช้งานไฟฉุกเฉินDYNO 1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินDYNOก่อนอันดับแรก 2.การติดตั้งไฟฉุกเฉินควรคำนึง...

  • ไฟฉุกเฉิน MAX BRIGHT.jpg
    MAX BRIGHT ไฟฉุกเฉิน Emergency Light ระบบไฟฉุกเฉิน (Emergency Light System) เป็นการให้แสงสว่างฉุกเฉินเมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว รวมถึงการให้แสงสว่างเพื่อการหนีภัย (Escape Ligh...

  • ไฟฉุกเฉิน SAFEGUARD
    ไฟฉุกเฉินSAFEGUARD 1.ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินSAFEGUARDก่อนอันดับแรก 2.การติดตั้งไฟฉุกเฉินควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้นๆเช่นถ้าแบตเตอรี่เป็นแบบเติมน้...
Visitors: 6,588,694